วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

1.กลุ่มดาวแกะ (Aries or Ram)



    กลุ่มดาวกลุ่มแรกใน 12 ราศี คือ กลุ่มดาวแกะตัวผู้ เรียก ราศีเมษ ดาวกลุ่มนี้สังเกตได้ง่าย มีดาวสว่างสุกปลั่งอยู่ตรงหัวแกะ 3 ดวง มีรูปคล้ายสามเหลี่ยมมุมป้าน
    กลุ่มดาวราศีเมษหรือกลุ่มดาวแกะ จะเห็นอยู่ตรงศีรษะเมื่อเวลา 3 ทุ่ม ในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี มีหลักการสังเกตง่าย ๆ สำหรับหาดาวกลุ่มนี้ คือ ดูจากกลุ่มดาวลูกไก่ เมื่อเห็นกลุ่มดาวลูกไก่แล้วมองไปทางทิศตะวันตก ใกล้ ๆ กลุ่มดาวลูกไก่จะเห็นกลุ่มดาวสามเหลี่ยมมุมป้าน ซึ่งเป็นหัวแกะได้ โดยง่าย และเมื่อมองไปทางทิศตะวันตกจะเห็นกลุ่มดาวม้า


2.กลุ่มดาววัว (Taurus)




    ลุ่มดาวในราศีที่ 2 หรือ กลุ่มดาวราศีพฤษภ คือ กลุ่มดาววัวตัวผู้ คนไทย โดยทั่วไปเห็นกลุ่มดาวนี้เป็น กลุ่มดาวธง ดาวธง คือ กลุ่มดาวหน้าวัวของกลุ่มดาว หน้าวัวนั่นเอง กลุ่มดาววัวเป็นกลุ่มดาวที่สะดุดตาเห็นครั้งเดียวจำได้ตลอดไป วิธีการสังเกตดูกลุ่มดาวนี้ง่าย ๆ คือ ดูจากกลุ่มดาวลูกไก่ ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่ สวยงานที่สุดในท้องฟ้า กลุ่มดาวลูกไก่อยู่บนหนอกข้างขวาของวัว ฉะนั้นพอเห็น กลุ่มดาวลูกไก่ มองไปทางทิศตะวันออกจะเห็นดาวธงรูปสามเหลี่ยม คล้ายอักษร ภาษาอังกฤษ ตัว V มีดาวสีแดงสดใสชื่อ แอนดีบาแรน (Aldebarm) อยู่ตรงยอดธงเป็นที่สังเกต

3.กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)




    กลุ่มดาวในราศีที่ 3 หรือกลุ่มดาวราศีมิถุน คือ กลุ่มดาวคนคู่ ดาวกลุ่มนี้มีดาวดวง สว่างสุกใส 2 ดวง เป็นสังเกต คือ ดาว Pollux และ Castor ดาว 2 ดวงนี้ เป็นจุด สะดุดตาหาได้ง่าย อยู่ใกล้ ๆ กลุ่มดาววัว เหนือกลุ่มดาวนายพรานใหญ่ขึ้นมาทาง ทิศตะวันออกของกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวคนคู่จะเห็นอยู่กลางท้องฟ้าเมื่อเวลา 3 ทุ่มในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี
ดาวฤกษ์พอลลักซ์และแคสเตอร์นี้ คนโบราณโดยทั่วไปถือว่าเป็นดาวคู่แฝด คือชาวอาหรับเห็นเป็นนกยูง 2 ตัว ชาวอียิปต์เห็นเป็นต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น ชาวฮินดูเห็นเป็นเทพเจ้า 2องค์

4.กลุ่มดาวปู (Cancer)



     ดาวฤกษ์พอลลักซ์และแคสเตอร์นี้ คนโบราณโดยทั่วไปถือว่าเป็นดาวคู่แฝด คือชาวอาหรับเห็นเป็นนกยูง 2 ตัว ชาวอียิปต์เห็นเป็นต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น ชาวฮินดูเห็นเป็นเทพเจ้า 2 องค์ กลุ่มดาวในราศีที่ 4 หรือ กลุ่มดาวราศีกรกฏ คือ กลุ่มดาวปู ดาวกลุ่มนี้เป็นกลุ่มดาว ที่ไม่สะดุดตาและหาได้ยากที่สุดในกลุ่มดาว 12 ราศี ดาวกลุ่มนี้อยู่ระหว่าง กลุ่มดาวคนคู่และกลุ่มดาวสิงโต วิธีหากลุ่มดาวกลุ่มนี้ ก็ต้องหากลุ่มดาวคนคู่และ กลุ่มดาวสิงโตให้ได้ ระหว่าง กลุ่มดาวทั้งสองมีดาวฤกษ์ สว่างจาง ๆ อยู่ 8 ดวง ที่ประกอบกันเป็นตัวปูปูเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ไปโดยลำตัวไม่ตั้งตรงหรือ เห็นปรากฏถอยหน้าถอยหลัง ดวงอาทิตย์เมื่อเคลื่อนที่เข้ามาในกลุ่มดาวปู จะปรากฏเหมือนเคลื่อนที่ถอยหลัง ชื่อ ทรอปิค ออฟ แคนเซอร์ (Tropic of Cancer ) ได้ชื่อมาจากการเคลื่อนที่ ปรากฏของดวงอาทิตย์ว่าคล้ายปู เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ปรากฏเข้าสู่กลุ่มดาวปู ราศีกรกฏ ( 22 มิถุนายน ) ระยะนี้เป็นฤดูร้อนทางซีกโลกเหนือ คนในประเทศ อบอุ่น จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะเมื่อเวลาเที่ยงวัน วันที่ 22 มิถุนายน เป็นวัน ที่มีเวลากลางวันมากกว่ากลางคืนมากที่สุด

5.กลุ่มดาวสิงโต (Leo)





    กลุ่มดาวในราศีที่ 5 หรือ กลุ่มดาวราศีสิงห์ คือ กลุ่มดาว สิงห์โตดาวกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มดาวที่คนรู้จักดีที่สุดและสะดุดตาที่สุดอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวราศีสิงห์ เป็นกลุ่มดาวที่เก่าแก่ที่สุดตามที่ได้มีการบันทึกมา ดาวกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับ ดวงอาทิตย์อย่างใกล้ชิด นับแต่แรกเกิดระบบสุริยะ ฉะนั้นทางโหราศาสตร์ เขาจึงกำหนดให้ดวงอาทิตย์เป็นเจ้าของราศีสิงห์นี้ กลุ่มดาวสิงห์โต เป็นกลุ่มดาวที่บอกฤดูกาลได้เมื่อจะเริ่มหน้าร้อนของฝรั่ง คือ ปลายเดือนมิถุนายน กลุ่มดาวสิงโตจะอย่างท้องฟ้าตั้งแต่เริ่มมืด กลุ่มดาวสิงโต จะอยู่กลางท้องฟ้าตรงศีรษะเมื่อเวลา 3 ทุ่ม (21.00 น.) ในวันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี
    ชาวอียิปต์โบราณบูชาดาวกลุ่มนี้เพราะอุทกภัยจากแม่น้ำไนล์ เกิดขึ้นเมื่อ ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวราศีนี้ บางท่านจึงสันนิษฐานว่า ตัวสฟิงส์ (Sphing) ของอียิปต์ส่วนหัวคื่อหญิงพรหมจารีย์ (ราศีกันย์ )ส่วนตัวคือสิงห์โต (ราศีสิงห์)

6.กลุ่มดาวหญิงพรหมจารีย์ (Virgo)


     กลุ่มดาวในราศีที่ 6 หรือกลุ่มดาวราศีกันย์ คือ กลุ่มดาวหญิงพรหมจารีย์ กลุ่มดาวนี้อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสิงห์โตกับกลุ่มดาวคันชั่ง มีดาวฤกษ์ที่สว่าง สุกใสอันดับที่ 16 ในท้องฟ้า ชื่อ สไปกา (Spica) ซึ่งแปลว่ารวงข้าว จากแผนที่ ดาวเก่าแก่ เขาเขียนรูปกล่มดาวนี้เป็นผู้หญิงสาวถือฟ่อนข้าวสาลีอยู่ในมือ
    ดาวกลุ่มนี้มีดาวสำคัญ เกี่ยวกับวิชา ดาราศาสตร์อยู่อย่างหนึ่งคือ จุดตัดของ เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า และเส้นอีคลิพดิคจุดที่ 2 ซึ่งเรียกว่า Autumnal Equinox (บางท่านเรียกวันสารทวิษุวัต แปลว่า วันที่ดวงอาทิตย์ ยกเข้าสู่ราศีตุลย์ ) นั้นอยู่ในกลุ่มดาวกลุ่มนี้ วันที่ 23 กันยายนเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลก ฝ่ายเหนือเริ่มวันฤดูใบไม้ร่วง วันนั้นกลางวันและกลางคืนเท่ากัน

7.กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra)


    

    กลุ่มดาวในราศีที่ 7 หรือ กลุ่มดาวราศีตุลย์ (ดุลย์) คือ กลุ่มดาวคันชั่ง กลุ่มดาวนี้สังเกตได้ง่ายมีรูปคล้าย ๆ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน อยู่ทาง ทิศตะวันตกของกลุ่มดาวแมงป่อง ในสมัย 2,000 ปีก่อน นักดาราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรเข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวราศีตุลย์ ในวันที่ 23 กันยายน ซึ่งในวันนี้กลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี และดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดทิศตะวันออก ตกที่จุดทิศตะวันตก โคจรผ่านกลางท้องฟ้าพอดี กลุ่มดาวนี้จึงแทนความ เสมอภาคแห่งท้องฟ้า ในปัจจุบันนี้ ดวงอาทิตย์จะปรากฏโคจร เข้ามาใน กลุ่มดาวราศีตุลย์ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้เนื่องจากการส่ายของโลก ดังได้ อธิบายไว้แล้ว แต่การเกิดกลางวันกลางคืนเท่ากันก็ยังคงเป็นวันที่ 23 กันยายน ตามเดิม

ชาวฮีบรูสมัยโบราณ และพวกอริยกะในมัธยมประเทศ (ตอนกลางของประเทศ อินเดีย) เรียกกลุ่มดาวราศีตุลย์แทนความเสอมภาคแห่งท้องฟ้าหรือสรรค์

    ชาวกรีก รวมกลุ่มดาวคันชั่งกับกลุ่มดาวแมงป่องเข้าด้วยกัน คือ เขาเห็นกลุ่ม ดาวคันชั่งซึ่งมี 4 ดวงนี้เป็นรอยเท่าของแมงป่อง ในเวลาต่อมาชาวกรีกได้เปลี่ยน ความเชื่อถือใหม่ โดยเห็นกลุ่มดาวนี้แทน Mochus ผู้ประดิษฐ์เครื่องชั่งตวงวัด